ยาหม่อง
ยาหม่อง เป็นยาสามัญประจำบ้าน ประกอบด้วยสมุนไพร และตัวยาหลายชนิด มีลักษณะเป็นเนื้อเหลวอ่อนนุ่ม มีทั้งสีเหลือง สีขาว และสีอื่นๆตามส่วนผสม มีกลิ่นหอม นิยมใช้บรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืดตาลาย เมารถ เมาเรือ คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงใช้ทานวดกล้ามเนื้อ แก้อาการปวดบวม อาการเมื่อยล้า ฟกช้ำดำเขียว และแมลงกัดต่อย
ประวัติยาหม่อง
ยาหม่องไม่เคยถูกกล่าวถึงในสารานุกรมฉบับใด แต่พบหัวข้อที่เกี่ยวข้องในในยาตำรับหลวง และยาสามัญประจำบ้านที่ระบุถึง “ขี้ผึงทาแก้ปวดบวม” ซึ่งน่าจะตีความหมายรวมถึง “ยาหม่อง” แต่ทั้งนี้ ขี้ผึงทาแก้ปวดบวม ไม่ได้ระบุถึงสรรพคุณ และวิธีการใช้ที่ครอบคลุมของยาหม่องอย่างแท้จริง จึงสันนิษฐานได้ว่า ยาหม่อง กับ ขี้ผึงทาแก้ปวดบวม อาจหมายถึงตัวยาต่างตำรับกันก็เป็นได้
ยาหม่องไม่เคยถูกกล่าวถึงในสารานุกรมฉบับใด แต่พบหัวข้อที่เกี่ยวข้องในในยาตำรับหลวง และยาสามัญประจำบ้านที่ระบุถึง “ขี้ผึงทาแก้ปวดบวม” ซึ่งน่าจะตีความหมายรวมถึง “ยาหม่อง” แต่ทั้งนี้ ขี้ผึงทาแก้ปวดบวม ไม่ได้ระบุถึงสรรพคุณ และวิธีการใช้ที่ครอบคลุมของยาหม่องอย่างแท้จริง จึงสันนิษฐานได้ว่า ยาหม่อง กับ ขี้ผึงทาแก้ปวดบวม อาจหมายถึงตัวยาต่างตำรับกันก็เป็นได้
คำว่า “ยาหม่อง” ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในบทความของเอกสารที่เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของบริษัทหนึ่ง และต่อมาก็จัดจำหน่ายยาหม่องโดย ผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำว่า “ยาหม่อง” รายแรกของโลก
เนื้อหาบทความดังกล่าวกล่าวถึง เหตุการณ์เมื่อปี ค.ศ. 1800 (พ.ศ. 2343) ที่มีหมอสมุนไพรชาวจีนชื่อ Aw Chu Kin ได้ออกเดินทางไปแสวงโชคที่ประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นพม่าถูกปกครองด้วยประเทศอังกฤษ โดยเปิดร้านขายยาสมุนไพรเล็กที่ประเทศพม่า นานหลายปีจนมีบุตรชาย 3 คน ประกอบด้วยพี่ชายคนโตชื่อ Boon leong น้องคนรอง Boon Haw และน้องชายคนสุดท้อง Boon Par แต่พี่ชายคนโต Boon leong ได้เสียชีวิตในขณะยังเด็ก
Boon Haw และ Boon Par เติบโต และได้เรียนที่โรงเรียนชาวอังกฤษ แต่ Boon Haw เป็นคนมีนิสัยเกเร จึงถูกส่งตัวกลับประเทศจีน ส่วน Boon Par ได้ศึกษาเล่าเรียน และได้รับการถ่ายทอดวิชาสมุนไพรจากบิดาเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นตำรับยาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากสำนักราชวังจีน โดยเฉพาะตำรับยาที่ใช้แก้ปวดภายนอก และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะทั่วไป จนเมื่อบิดาเสียชีวิตจึงได้ดำเนินกิจการของบิดาเรื่อยมา
ขณะนั้น Boon Par ได้มีการศึกษาตำรับยาฝรั่ง และได้ค้นคว้านำมาปรับปรุงส่วนผสม และสรรพคุณตำรับยาของตนเอง จนกลายเป็นยาแก้ปวดภายนอก และบรรเทาอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะที่นิยมกันในขณะนั้น
ต่อมา Boon Par ได้ส่งจดหมายให้พี่ชาย Boon Haw กลับมาช่วยกิจการของตน ซึ่งลักษณะของ Boon Haw ที่เป็นคนกล้าได้กล้าเสีย และมีความเป็นผู้นำ ประกอบกับความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรของ Boon Par ทำให้ตัวยาที่บรรจุในขวดแก้วเหลี่ยมขนาดเล็กที่เป็นรู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศพม่า
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งสองได้อพยพออกจากประเทศพม่ามาดำเนินกิจการต่อที่ประเทศสิงคโปร์ จนกิจการเติบโตมีการส่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีการใช้ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ว่า “ยาหม่องตราเสือ” หรือที่เรียกกันสั้นๆจนติดปากคนไทยว่า “ยาหม่อง” คำว่า “หม่อง” เป็นชื่อสะท้อนของผลิตภัณฑ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่านั่นเอง
แต่มีข้อสันนิษฐานในอีกด้านของที่มาคำว่า “ยาหม่อง” ที่กล่าวถึงตำรับยาหม่องที่ประกอบด้วยน้ำมันหม่องตะหยก มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งอ่อน สีขาวขุ่น ทาแล้วร้อน ใช้ทาแก้เคล็ดขัดยอก ถือเป็นยาแก้เคล็ดขัดยอกที่ขายดีในสมัยนั้น และต่อมามีการทำน้ำมันหม่องตะกิดออกมาจำหน่ายบ้าง แต่ต่อมายาทั้งสองก็เลิกผลิต จนมีการผลิตขี้ผึ้งถูนวดขึ้นมาใช้แทน โดยมีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันหม่อง จนเป็นที่มาของคำว่า “ยาหม่อง” ที่ใช้เรียกแทนชื่อน้ำมันหม่องที่เป็นต้นตำรับ
ปัจจุบันมีการผลิตยาหม่องออกมาจำหน่ายภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่หลายชนิด และเป็นคู่แข่งของยาหม่องตราเสือ เช่น ยาหม่องตราถ้วยทอง และยาหม่องตราลิงถือลูกท้อ เป็นต้น รวมถึงยาหม่องชนิดอื่นๆจากผลิตภัณฑ์ Otop
ส่วนผสมยาหม่อง
1. การบูรเกล็ด มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม
3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศรีษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
6. สมุนไพร
– น้ำมันระกำ สกัดได้จากเมล็ดระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคล็ดขัดยอก
– น้ำมันอบเชย ช่วยลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ช่วยในการขับลม
– น้ำมันกานพลู สรรพคุณ แก้ปวดท้อง และช่วยขับเสมหะ
– น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ ลดหวัด ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด ช่วยไล่ยุง และแมลง
1. การบูรเกล็ด มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม
3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศรีษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
6. สมุนไพร
– น้ำมันระกำ สกัดได้จากเมล็ดระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคล็ดขัดยอก
– น้ำมันอบเชย ช่วยลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ช่วยในการขับลม
– น้ำมันกานพลู สรรพคุณ แก้ปวดท้อง และช่วยขับเสมหะ
– น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ ลดหวัด ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด ช่วยไล่ยุง และแมลง
นอกจากนั้น อาจเพิ่มตัวยาบางชนิด เช่น Methyl salicylate สำหรับออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อย
**ข้อบ่งใช้
1. ใช้สูดดม แก้อาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืดตาลาย
2. ใช้ทานวดกล้ามเนื้อ แก้อาการปวดเมื่อย แก้ฟกช้ำดำเขียว
3. ใช้ทาผิวหนัง ลดอาการปวดจากแมลงสัตว์กัดต่อย
1. ใช้สูดดม แก้อาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืดตาลาย
2. ใช้ทานวดกล้ามเนื้อ แก้อาการปวดเมื่อย แก้ฟกช้ำดำเขียว
3. ใช้ทาผิวหนัง ลดอาการปวดจากแมลงสัตว์กัดต่อย
**ข้อควรระวัง
1. ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอาจเกิดอาการแสบร้อนได้ง่ายหากใช้ปริมาณมาก
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตา เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองกับลูกตาอย่างรุนแรง อาจทำให้ตาบอดได้
3. การสูดดมในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศรีษะ และการสูดดมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบ
1. ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอาจเกิดอาการแสบร้อนได้ง่ายหากใช้ปริมาณมาก
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตา เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองกับลูกตาอย่างรุนแรง อาจทำให้ตาบอดได้
3. การสูดดมในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศรีษะ และการสูดดมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบ
ที่มา : อ.จักรกริช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น